ยินดีต้อนรับ สู่บล็อกวิชาก้าวทันโลกศึกษา

ความเชื่อต่างๆของผู้คนทั่วโลก

                                ประเภทของศาสนาต่าง ๆในโลก

                                หลักธรรมคำสอนของศาสนาต่าง ๆ ในโลก
                               
                                หลักธรรม 2

                            แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
                                 (ข้อมูลจาก http://web.kku.ac.th/myongy/text/f4.htm)
 
ความนำ
                   จากการศึกษาในบทก่อน ๆ จะเห็นว่าสังคมโลกมีลักษณะเป็นพลวัตที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยแวดล้อมหลายประการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เหตุการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วบางเรื่องอาจสิ้นสุดไปแล้ว แต่บางเรื่องยังดำเนินต่อไป ในบทนี้จะได้ศึกษาถึงแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงและปัญหาในอนาคตของสังคมโลกทั้งด้านสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง ทั้งนี้เพื่อจะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทัน รวมทั้งสามารถปรับตัวปรับใจให้เหมาะสมเพื่ออยู่ในสังคมโลกอย่างสันติสุข 
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก
                   จากการศึกษาวิวัฒนาการและปัญหาสังคมโลกที่ผ่านมาในอดีตและที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและปัญหาของโลกทางด้านสังคมในอนาคตได้หลายประเด็น ดังนี้
อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ ( Alvin Toffler)
                   1. แนวโน้มเกี่ยวกับครอบครัว อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ (Alvin Toffler) นักวิชาการและนักวิจารณ์สังคม ผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง อนาคตระทึก” (Future Shock) ได้ชี้ให้เห็นถึงความตื่นกระหนกอย่างใหญ่หลวงของสังคมอเมริกันภายหลังจากสหภาพโซเวียตส่งดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik) ขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศได้สำเร็จเป็นประเทศแรกเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.. 1957 (.. 2500) ขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญยังทำไม่ได้ และในหนังสือเรื่อง คลื่นลูกที่สาม” (The Third Wave) เขาได้ชี้ให้เห็นว่ากระแสคลื่นหรือกระแสวิถีชีวิตของมนุษย์ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วสองลูกคือคลื่น การปฏิวัติเกษตรกรรมในยุคหินใหม่ ซึ่งกระแสคลื่นดังกล่าวใช้เวลานับพันปีกว่าจะแสดงตัวเองอย่างเด่นชัด คลื่นลูกที่สองคือกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 300 ปี จึงสามารถแสดงออกซึ่งวิถีชีวิตบดบังวิถีชีวิตคลื่นลูกเก่าได้  ส่วนคลื่นลูกที่สามที่กำลังเกิดขึ้น คือ คลื่นแห่งการปฏิวัติเทคโนโลยีระดับสูง ซึ่งคลื่นลูกที่สามนี้จะส่งผลกระทบต่อการผลิตแบบใหม่ ครอบครัวแบบใหม่ รวมทั้งสถาบันใหม่ ๆ จะบังเกิดขึ้น
                                1.1 ครอบครัวอนาคต อัลวินกล่าวว่าครอบครัวในปัจจุบันมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวอันประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูก 1-3 คน พ่อมีหน้าที่ทำงานเลี้ยงครอบครัว แม่มีหน้าที่ดูแลบ้านและเลี้ยงลูก ครอบครัวแบบนี้มีความเหมาะสมกับรูปแบบสังคมในยุคคลื่นลูกที่สอง ซึ่งเป็นสังคมที่มีผลผลิตทีละมาก ๆ มีค่านิยมและรูปแบบการดำเนินชีวิตที่คล้ายคลึงกัน มีการปกครองตามลำดับขั้น มีการแบ่งแยกชีวิตการทำงานกับชีวิตส่วนตัวที่บ้านออกจากกันอย่างเด็ดขาด สำหรับในอนาคต อัลวินเห็นว่ารูปแบบครอบครัวจะเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ งานบางชนิด เช่น การสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การออกแบบอาคาร การเขียนตำรา การตรวจสอบกระบวนการผลิตระยะไกล การโต้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถทำได้ที่บ้าน สามีภรรยาจะมีเวลาได้อยู่ใกล้ชิดกันมากขึ้น ลักษณะการทำงานอาจแบ่งกันทำคนละชิ้นหรือแบ่งเวลากันทำคนละช่วง นอกจากนั้นแนวคิดในการหาคู่ครองจะเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งแต่เดิมการเลือกคู่ครองมีเหตุผลสำคัญจากความรักในเชิงโรแมนติก แต่ในอนาคตคู่สมรสจะต้องพิจารณาการทำงานแบบรวมมันสมอง โดยจะต้องเพิ่มเกณฑ์การเลือกคู่ครองในเรื่องสติปัญญา ความรับผิดชอบ ความมีวินัย และคุณธรรมการทำงานด้วยเด็ก ๆ ในยุคคลื่นลูกที่สามจะต้องถูกตัดขาดจากพ่อแม่เพราะต้องไปเรียนหนังสือ แต่เขาจะเติบโตในบ้านอิเล็กทรอนิกส์และคุ้นเคยกับงานของพ่อแม่ตั้งแต่เกิด เมื่อเขาโตขึ้นถึงระดับหนึ่ง เขาจะมีส่วนร่วมในการทำงานของพ่อแม่ด้วย อัลวินยังเห็นว่าครอบครัวในอนาคตจะกลับไปมีลักษณะคล้ายยุคคลื่นลูกที่หนึ่ง ตรงที่ครอบครัวจะมีลักษณะครอบครัวขยาย คือครอบครัวที่มีจำนวนคนมากขึ้นและมีลักษณะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือสหกรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ครอบครัวอาจประกอบด้วยเพื่อนของพ่อ เพื่อนของแม่ที่ร่วมธุรกิจด้วยหรืออาจรวมถึงลูกค้าที่ต้องเกี่ยวข้องกับการผลิต ซึ่งไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจะส่งผลตามมาในลักษณะใดก็ตาม อัลวินสรุปว่าโลกจะต้องก้าวต่อไปและระบบครอบครัวจะยังเป็นสถาบันหลักของสังคมต่อไป ควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ระบบครอบครัวจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสังคมและการปรับตัวสู่อารยธรรมของคลื่นลูกใหม่
                   นอกจากแนวคิดของอัลวินเรื่องครอบครัวในอนาคตดังกล่าวแล้วความต้องการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพจะทำให้มนุษย์สามารถเลือกมีบุตรตามความต้องการได้อีกด้วย โดยเฉพาะในเรื่องลักษณะทางกายภาพ
                                1.2 บ้านสำนักงาน (Office Home) อัลวินเชื่อ ว่าการปฏิบัติทางเทคโนโลยีการสื่อสารจะทำให้เกิดระบบการผลิตแผนใหม่ที่จะดึง คนจำนวนนับล้านคนให้ออกจากโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อกลับเข้าทำงานในบ้านโดยการ ปรับบ้านให้เป็นที่ทำงานแทนการทำงานในโรงงาน บ้านดังกล่าวจะเป็นบ้านที่มีเทคโนโลยีทันสมัยและเป็นศูนย์กลางการผลิต ทั้งนี้เพราะการทำงานในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับข้อมูลมากกว่าการทำกับสิ่งของ หรือเครื่องจักรซึ่งงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นสามารถทำที่บ้านได้ ในอนาคตบ้านจึงกลายเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและที่ทำงาน ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบหลายประการ เช่น
1)        ทำให้ชุมชนมีความมั่นคงขึ้น เพราะคนทำงานไม่ต้องย้ายตามสถานที่ทำงานในกรณีถูกโยกย้าย
2)        เป็นการลดและกระจายพลังงานจากการกระจุกอยู่ตามอาคารใหญ่ ๆ และยังสามารถใช้พลังงานทดแทนจากดวงอาทิตย์ได้อย่างเพียงพออีกด้วย
3)        ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคมจะเจริญก้าวหน้า ในขณะที่ธุรกิจรถยนต์และธุรกิจซื้อขายที่ดินอาจลดลง
4)        เอกชนที่ทำงานคล้ายคลึงกันอาจร่วมมือกันเป็นเจ้าของเครื่องมือในการทำงานร่วมกันในลักษณะของหุ้นส่วนหรือบริษัทขนาดย่อม เป็นต้น
                   2. แนวโน้มเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
                   ปัจจุบันสังคมโลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากมายนับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์ สังคมโลกมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มากมาย ซึ่งอาจแบ่งได้หลายประเภทที่สำคัญ ได้แก่
                                2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) เทคโนโลยีสารสนเทศนับเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญที่สุดในยุคโลกาภิวัตน์ ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในกระบวนการโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีสารสนเทศมีวิวัฒนาการมานานหลายพันปีแล้ว เริ่มต้นจากการสื่อสารด้วยภาพและอักษรโดยมีอุปกรณ์ ได้แก่ กระดาษ หมึก และเครื่องเขียนต่างๆ ตามเทคโนโลยี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครื่องพิมพ์ดีด โทรศัพท์ ติดตามด้วยเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์การส่งข่าวสารต่างๆ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้เมื่อผสมผสานกับเทคโนโลยีคมนาคมซึ่งเป็นเทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสาร เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรสาร รวมทั้งการสื่อสารผ่านดาวเทียมทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว การนำเอาวัสดุสมัยใหม่มาใช้ในการผลิตใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) ทำให้มีการพัฒนาการสื่อสารด้วยภาพ เสียง และตัวเลขได้ดีขึ้นอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สังคมโลกมีความใกล้ชิดกันจนเป็นเสมือนหมู่บ้านเดียวคือหมู่บ้านโลก ในอนาคตเทคโนโลยีเหล่านี้จะยิ่งพัฒนาไปอย่างรวดเร็วทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ในอนาคตภาวะโลกาภิวัตน์จะกระจายไปทั่วทุกมุม โลกและคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายดายิ่งกว่าในปัจจุบันซึ่งกระจาย เฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความสามารถและมีโอกาสสูงเท่านั้น เช่นระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้เฉพาะประชากรบางกลุ่มเท่า นั้น
                                2.2 เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับผลิตสินค้าและการบริการขนาดใหญ่ ได้แก่เทคโนโลยีในการทำวัสดุภัณฑ์สมัยใหม่ เช่น
                                1) เซรามิกส์ (Ceramics) ซึ่งมีคุณภาพแข็ง ทน เบา ไม่เป็นสนิม ทนต่ออุณหภูมิสูง บางชนิดมีความแกร่งแต่บางเบา จึงสามารถนำมาผลิตสินค้าจำพวกกรรไกร มีด เตารีด ในอนาคตจะมีบทบาทอย่างมากในอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โทรคมนาคม รถยนต์ ดาวเทียม พลังงาน การแพทย์ และการทหาร
                                2) พลาสติก (Plastics) บางชนิดมีความแข็งเท่าโลหะแต่มีความบางเบากว่า เก็บความร้อนและไฟฟ้าได้ดีกว่า ทำใหประหยัดพลังงาน สามารถนำไปทดแทนโลหะและกระจกได้ เช่น กาน้ำ คอนแท็กเลนส์ ท่อน้ำ กระจกพลาสติก ขวดน้ำ หลอดนีออน หมวกทหาร เสื้อกันกระสุน ซิป แผ่นความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งชิ้นส่วนเครื่องบินและดาวเทียม
                                3) ใยแก้วนำแสง (Fiber Optics) มีขนาดเล็กเท่าเส้นผมหรือประมาณหนึ่งในห้าของสายเคเบิลที่ทำจากทองแดง แต่มีศักยภาพในการสื่อสารและรับส่งข้อมูลได้สูงกว่าสายเคเบิลที่ทำจากทองแดงมากมาย ในอนาคตเคเบิลใยแก้วจะถูกนำไปวางเป็นเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก สำหรับการสื่อสารคมนาคมทั้งด้านเสียง ภาพ และข้อมูลตัวเลข
                                4) เซมิคคอนดักเตอร์ (Semiconductors) เช่น การผลิตซิลิคอนจากทรายธรรมดาสำหรับไมโครอิเล็ทรอนิกส์จำพวกทรานซิสเตอร์ แผงวงจร และชิป (Chip) ในอนาคตจะมีการพัฒนาวัสดุผสมทำให้สามารถลดขนาดวงจรได้ วัตถุบางชนิดสามารถนำมาทำ Chip ที่ทำงานได้เร็วกว่ากินไฟน้อยกว่า และยังทนความร้อนดีกว่า Chip แบบเดิมอีกด้วย
                                5) นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology) เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนที่จัดโครงสร้างของอะตอมแต่ละอย่างใหม่ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ซึ่งในอนาคต อาจจะมีวัสดุบางอย่างที่แข็งกว่าเหล็กถึง 100 เท่า แต่มีน้ำหนักน้อยกว่าเหล็กถึง 6 เท่า และในอนาคตจะมีการสร้างอะไหล่ ชิ้นส่วนของมนุษย์ เรียกว่า Bio Compatible Replacement คือ มีการเปลี่ยนอะไหล่มนุษย์ด้วยเทคโนโลยี และสามารถชะลอความแก่ โดยสิ่งที่เรียกว่า Artificial Red blood Cell
                   นาโนเทคโนโลยี เป็นอนาคตของโลก ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น วัสดุฉลาดที่มีคุณสมบัติมหัศจรรย์ในการซ่อมแซม และสำเนาตัวเองได้ หากใช้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ดีเอ็นเอ. จะทำให้มีความเร็วในระดับ 10 พันล้านครั้งต่อนาที และใช้พลังงานเพียง 1  ใน 1 หมื่นล้านส่วนของวัตต์ การประมวลผลได้ถึง 1 ล้านล้านคำสั่งพร้อม ๆ กันซึ่งเป็นศักยภาพที่เหนือกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูงสุดในปัจจุบัน
                   เป็นที่คาดว่าในปี ค.. 2005 ตลาดสินค้าที่ผลิตนาโนเทคโนโลยี จะมีมูลค่า 1 หมื่น 8 พันล้าน ดอลลาร์ และจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว เชื่อกันว่า ปี ค.. 2015 สินค้า นาโนเทคโนโลยีจะครองตลาดด้วยมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ (40 ล้านล้านบาท) อย่างแน่นอน (มติชนรายวัน 16 เมษายน 2547,20)
                   2.3 เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ในอนาคตคือเทคโนโลยีชีวภาพจะมีความก้าวหน้าหลายประการ เช่น
                                2.3.1 การตัดต่อยีนส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรมของ สิ่งมีชีวิตทั่งพืชและสัตว์ด้วยการแทรกแซงพันธุกรรมโดยตรงโดยใช้เทคนิคการ รวมตัวของสารดีเอ็นเอ (DNA) และการตัดต่อยีนส์ เทคโนโลยีดังกล่าวทำให้เกิด สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรม” (GMOs) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีชีวภาพการตัดต่อยีนส์ในอนาคตได้แก่การพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ให้ทนทานต่อโรคและปัจจัยที่บ่อนทำลายความเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหรกรรมอาหาร ยารักษาโรค รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสังคมโลก
                                2.3.2 การคัดลอกพันธุ์หรือโคลนนิ่ง (Cloning) เป็นการคัดลอกพันธุ์พืชและสัตว์ให้เหมือนกับพ่อแม่ ประโยชน์ของการโคลน นอกจากจะเป็นการคัดลอกตัวใหม่ได้แล้วมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไวรัสได้ด้วย พันธุ์พืชต้นเดียวที่ไร้โรคจะสามารถคัดลอกตัวใหม่ได้แล้วยังมีประโยชน์ในการช่วยควบคุมไวรัสได้ ด้วย พันธุ์พืชต้นเดียวที่ไร้โรคจะสามารถคัดลอกได้นับเป็นพัน ๆ ต้นการโคลนสัตว์มีข้อยุ่งยากกว่าการโคลนพืชแต่ก็ใช้หลักการคล้ายคลึงกัน เพียงแต่พืชสามารถเลี้ยงเซลล์และต้นอ่อนได้ในหลอดแก้วแล้วสามารถนำไปปลูกได้ เลย ในขณะที่การโคลนสัตว์จะต้องนำตัวอ่อนไปฝังในมดลูกของตัวเมียจึงจะให้ลูกออก มาได้ การโคลนนอกจากจะใช้กับสัตว์แล้วยังสามารถใช้กับมนุษย์อีกด้วย
                                2.3.3 การถอดรหัสยีนส์และทำแผนที่ยีนส์ (Human Genome & Gene Mapping) ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงความลับของกลไกแห่งความเป็นมนุษย์ทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม รวมทั้งการเจ็บไข้ได้ป่วยและความผิดปกติทางพันธุกรรม ตั้งแต่ก่อนการปฏิสนธิ เช่น รู้ว่าเด็กคนใดเกิดมาแล้วจะมี พฤติกรรมอย่างไร จะเป็นคนเก่งกาจแค่ไหนรวมทั้งจะเป็น โรคอะไรและจะมีอายุมากน้อยเพียงใดจุดมุ่งหมายสำคัญของ โครงการนี้ก็เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่พึงประสงค์หรือเป็น อุปสรรคต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติของยีนส์ได้ล่วงหน้า เช่น โรคโลหิตเป็นพิษ โรคอัลไซเมอร์ โรคแก่เกินวัย เป็นต้น ซึ่งการค้นพบดังกล่าวย่อม ก่อให้เกิดผลดีในแง่การป้องกัน แต่ในขณะเดียวกันก็อาจส่งผล ต่อจิตใจผู้ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น กรณี ที่หญิงบางคนได้ทราบล่วงหน้าว่าลูกในท้องที่จะเกิดออกมา จะมีพฤติกรรมเลวร้าย จะมีชีวิต อยู่ได้ไม่กี่ขวบเป็นต้น
2.4    เทคโนโลยีอวกาศ มนุษย์สามารถส่งวัสดุออกไปนอกโลกได้เมื่อ 5 ทศวรรษมาแล้วเมื่อ สหภาพโซเวียตได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรในปลายปี ค.. 1957 และสหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเอ็กพลอเรอร์ (Explorer) ได้ในเดือนมกราคมปีถัดมา จากนั้นทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็แข่งขันกันส่งดาวเทียมและยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.. 1969 (.. 2512 ) สหรัฐอเมริกาก็สามารถส่งมนุษย์อวกาศสามคนขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกตามโครงการอพอลโล 11 และส่งมนุษย์อวกาศสองคนลงเหยียบผิวดวงจันทร์ในวันที่ 21 กรกฎาคม 1969 ซึ่งการที่จะส่งมนุษย์ ไปลงยังดวงจันทร์ได้จะต้องอาศัยความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูงมาก หลังจากนั้นมนุษย์ก็ไม่อยู่นิ่ง แต่ได้พยายามสำรวจจักรวาล อันกว้างใหญ่ไพศาล โดยการส่งยานสำรวจออกไปนอกระบบสุริยะ ส่งกล้องโทรทัศน์ อวกาศไปลอยอยู่นอกโลกเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของจักรวาล รวมทั้งการส่งสัญญาณ ติดต่อไปยังดวงดาวที่คาดว่าอาจมี สิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาด” (Extra Terrestrial) ซึ่งมีความเป็นไปได้ในเมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าจักรวาลมีความกว้างนับหมื่นปีแสงและประกอบด้วยกลุ่มดาวหรือดาราจักร (Galaxy) มากมายนับหมื่นล้าน แกแล็กซี่ เทคโนโลยีอวกาศฟังดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวแต่การศึกษาอวกาศ และจักรวาลนอกจากจะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติที่อยู่รอบตัวและแสดงภูมิปัญญาความสามารถ ของมนุษย์แล้วผลประโยชน์อื่นที่ติดตามมาที่เราได้รับแล้วมีมากมาย เช่น  การส่งดาวเทียมสู่ท้องฟ้าก็เป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และดาวเทียมนี่เองที่ทำให้สามารถใช้อินเตอร์เน็ต รวมทั้งใช้ใน การถ่ายทอดรายการต่างๆ ทางวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยีอวกาศจึงส่งผลประโยชน์ต่อมนุษยชาติทั้งมวลอย่างมหาศาล


นีล อาร์มสตรอง
ผู้พิชิตดวงจันทร์
ยูริ กาการิน ชาวรัสเซีย มนุษย์อวกาศคนแรกของโลก ขึ้นสาอวกาศเมื่อ 12 เม.ย. 1961
                   3. แนวโน้มเกี่ยวกับปัญหาสังคม
                   ปัญหาสังคมที่ปรากฏขึ้นในช่วงที่ผ่านมา เช่น ปัญหาประชากร ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ปัญหาสารเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชน จะเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังต่อไป
                                3.1 แนวโน้มเกี่ยวกับจำนวนประชากรและผลกระทบ ในช่วงแรก ๆ ของมนุษย์หรือเมื่อประมาณสองแสนปีเศษมาแล้วประชากรโลกมีจำนวนเพียงประมาณ 1 ล้านคน ปัจจุบันพลโลกที่ยังมีชีวิตอยู่คนที่ 6,000 ล้านได้ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2542 (.. 1999) นักประชากรศาสตร์ใช้สูตรคำนวณว่าในปี ค.. 2025 หรืออีกประมาณยี่สิบปีข้างหน้าโลกจะมีประชากรอย่างต่ำ 7,600 ล้านคน จึงกล่าวได้ว่าจำนวนประชากรส่วนใหญ่ระบุตรงกันว่าประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นในอัตราสูงมากที่สุดคือประเทศด้อยพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือประเทศในทวีปแอฟริกาซึ่งมีอัตราเพิ่มถึงร้อยละ 3 ในขณะที่อัตราเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 1.7 และยุโรปมีอัตราเฉลี่ยเพียง 0.22 จำนวน ประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้นอกจากจะส่งผลกระทบในเรื่องการขาดแคลน อาหารแล้วยังมีผลต่อการละทิ้งที่อยู่อาศัยเข้าอยู่ในเขตเมือง ประมาณว่าในละตินอเมริกาจะมีคนอาศัยในเขตเมือง ประมาณว่าในละตินอเมริกาจะมีคนอาศัยในเขตเมืองถึงร้อยละ 85 แอฟริการ้อยละ 58 เอเชียร้อยละ 53 ในต้นศตวรรษที่ 21 นี้จะมีเมืองขนาดยักษ์ที่มีประชากรเกิน 11 ล้าน ถึง 20 เมือง ปัญหาจำนวนหรือมีรายได้ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันประมาณ 1,200 ล้านคน และเพิ่มเป็น 1,300 คน ในปี ค.. 1998 และ 1,500 ล้านคนในปี ค.. 1999 หรือประมาณร้อยละ 30 ของประชากรทั่วโลก
                   นอกจากนั้นยังปรากฎข้อเท็จจริงว่ากระแสโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ส่งผบให้คนที่มีฐานะดีมีความร่ำรวยยิ่งขึ้นในขณะที่คนยากจนกลับยิ่งจนลง ช่องว่างระหว่างคนยากจนกับคนร่ำรวยจึงมีมากขึ้นด้วย
                                3.2 แนว โน้มเกี่ยวกับปัญหาสารเสพติด แม้ว่าประเทศต่าง ๆ จะได้ทำการปราบปรามสารเสพติดอย่างจริงจัง แต่ปัญหาสารเสพติดก็ยังคงจะเป็นปัญหาสังคมอีกต่อไป ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยหลายประการที่จะส่งเสริมให้สารเสพติดแพร่หลายทั้งใน กลุ่มเยาวชน และคนทั่วไป ปัญหาสารเสพติดจะยังเป็นปัญหาระดับโลกของหลายภูมิภาค สำหรับประเทศไทยเราได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสารเสพติดที่มีการผลิตจำนวน มากทางแถบชายแดน สารเสพติดที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอย่างมาก ได้แก่ ฝิ่น เฮโรอีน โคเคน และแอมเฟตตามีนหรือ ยาบ้า
                                3.3 แนวโน้มเกี่ยวกับปัญหาเอดส์ (AIDS) เอดส์นับได้ว่าเป็นโรคระบาดร้ายแรงที่สุดเท่าที่โลกเคยประสบมา คำว่า AIDS มาจากคำเต็มว่า Acquired Immuno-Deficiency Syndromes ซึ่งหมายถึงกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม หรือกลุ่มอยู่ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น ในอีก 20 ปีข้างหน้าคาดกันว่าเอดส์จะคร่าชีวิตมนุษย์ถึง 17 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบทะเลทรายซาฮาราในแอฟริกา
                   การ ที่สถานการณ์เอดส์ยังมีแนวโน้มที่จะแพร่กระจายออกไปอีกมากนั้น ปัจจัยด้านหนึ่งมาจากลักษณะพิเศษของเอดส์ที่สามารถหลบซ่อนอยู่ในเซลล์เม็ด เลือด สามารถเปลี่ยนแปลงผนังเปลือกนอกที่ห่อหุ้มตัวเองได้รวดเร็วมากจนยากที่จะหา วิธีป้องกันให้ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งมาจากมนุษย์เองที่ไม่รู้เท่าทันหรือไม่มี ระบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
                   อย่าง ไรก็ตามในขณะมีข่าวในด้านดีสำหรับคนทั่วไปด้วยโดยขณะนี้ได้มีการทดลองวัคซีน ป้องกันเอดส์ในสัตว์ประสบผลสำเร็จและกระทรวงสาธารณาสุขไทยร่วมกับโครงการ HIV แห่งกองทัพสหรัฐอเมริกาและสถาบันอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศกำลังทดลองวัคซีนป้องกันเอดส์ที่เรียกว่า แอลแวควัคซีนและ เอดส์แวกซ์วัคซีนซึ่งจะสามารถวิเคราะห์และทราบผลได้ในราวปี ค.. 2005
                                3.4 แนว โน้มเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการเพิ่มขึ้นของประชากรจะยังส่งผลกระทบสำคัญ ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งบนบก ในน้ำ และในอากาศ การตัดไม้ทำลายป่ายังจะคงมีต่อไป แม้ว่ามลพิษทางอากาศอันเกิดจากสารอุตสาหกรรมจะได้รับการตระหนักมากขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากให้ความสำคัญกับเรื่องการป้องกันมลพิษต่าง ๆ โดยการงดใช้สารจำพวก Chlorofluocarbon-CFC กับเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น ตู้เย็นเพื่อป้องกันการทำลายบรรยากาศที่หุ้มห่อโลก รวมทั้งการลดปริมาณแก๊สต่างๆ ที่ก่อให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกด้วย
                                3.5 แนวโน้มเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิของมนุษยชน คงจะได้รับการแก้ไขมากยิ่งขึ้น เพราะประเทศต่าง ๆ หันมาสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีบางประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนา ซึ่งยังจะคงปัญหาดังกล่าวไปอีกระยะหนึ่ง
4. แนวโน้มเกี่ยวกับวัฒนธรรม
                                4.1 แนวโน้มเกี่ยวกับวัฒนธรรม จากการศึกษาแนวคิดของนักวิชาการด้านต่าง ๆ อาจสรุปได้ว่าแนวโน้มทางสังคมวัฒนธรรม อาจเป็นดังนี้
                                                4.1.1 ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ปัจจุบันหลายชนชาติได้ประกาศตนเป็นอิสระซึ่งต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นของตนเองก่อให้เกิดชาตินิยมทางวัฒนธรรมขึ้น ทำให้วัฒนธรรมโลกมีลักษณะหลากหลาย การยึดมั่นในวัฒนธรรมของตนอย่างเหนียวแน่น และหลงใหลในชาติพันธุ์ของตนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งจนกลายเป็นสงครามได้ แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ ประชากรมีโอกาสได้พบเห็นวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมากขึ้นทำให้เกิดการยอมรับความหลากหลายของวัฒนธรรมได้
                                                4.1.2 การครอบงำของวัฒนธรรมตะวันตก เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจเดียวในโลก ประกอบกับการเติบโตของธุรกิจโฆษณาและลิทธิบริโภคนิยม (Consumerism) รวมทั้งการผูกขาดด้านข้อมูลข่าวสารและธุรกิจมวลชนแพร่หลายจึงเกิดการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกเข้าครอบงำวัฒนธรรมของชนชาติอื่น เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต  ความเป็นอยู่ อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น นอกจากนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามามีบทบาทสำคัญทางการศึกษา จำนนผู้รู้ภาษาสากลจะมีมากขึ้น และภาษาญี่ปุ่นจะกลายเป็นภาษาสากลอีกภาษาหนึ่ง
                                                4.1.3 ขบวนการทางการเมือง บางประเภทจะเติบโตขึ้น เช่น ขบวนการสันติภาพ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ขบวนการสตรี ขบวนการสิทธิมนุษยชนและขบวนการกำหนด วิถีชีวิตของตนเอง (Determination) เป็นต้น
                                4.2 แนวโน้มเกี่ยวกับศาสนาและชาติพันธุ์    กระแสชาติพันธุ์นิยมจะส่งผลให้เกิดปัญหาความขัดแย้งด้านศาสนาและกลุ่มชาติพันธุ์มากยิ่งขึ้น จำเป็นจะต้องหาทางสร้างความเข้าใจร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้ง
                                4.3 แนวโน้มเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ แนวโน้มเกี่ยวกับประชากรและสังคมมนุษย์ มีข้อพิจารณา ดังนี้
                                                4.3.1 แนวโน้มเกี่ยวกับประชากร สัดส่วนประชากรในแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชียใต้จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ประชากรในยุโรปและอเมริกาเหนือจะลดลง จีนและอินเดียจะยังเป็นประเทศที่มีประชากรสูงสุดสองลำดับแรก และมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 36 ของทั่วโลก สัดส่วนของประเทศด้อยพัฒนาจะมากขึ้นในขณะที่สัดส่วนของประเทศพัฒนาแล้วลดลง สัดส่วนของเด็กจะลดลงในขณะที่ผู้สูงอายุจะมากขึ้น อัตราส่วนการพึ่งพิงจะลดลงสำหรับประเทศกำลังพัฒนาแต่จะเพิ่มขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว อายุของประชากรจะยาวขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ คุณภาพของประชากรจะสูงขึ้นเนื่องจากความก้าวหน้าทางการศึกษาและเทคโนโลยี การเกิดลักษณะเมืองและการสร้างเมืองในประเทศยากจนและประเทศที่มีฐานะปานกลางจะเพิ่มขึ้น
                                                4.3.2 ความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างกลุ่มชนต่าง ๆ จะลดลงอย่างมาก ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น ความเสมอภาคระหว่างเพศมีมากขึ้น สตรีจะเข้ามาเป็นผู้นำทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น เพราะประชาชนได้รับการศึกษามากขึ้นและสามารถติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น
                                                4.3.3  ความตระหนักในคุณภาพชีวิต สังคมจะตระหนักในคุณภาพชีวิตมากขึ้นและช่วยกันหาแนวทางเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น
                                                4.3.4  แนวคิดของประชาชน ในอนาคตแนวคิดของประชาชนในสังคมจะเปลี่ยนจากการคิดแบบสากลแต่ปฏิบัติจริงแบบท้องถิ่น ไปเป็นการคิดอย่างท้องถิ่นแต่ทำอย่างสากล (Think Globally , Act Locally เป็น Think Locally, Act Globally) เนื่องจากประชาชนมีความฉลาดและมีความสามารถมากขึ้น สามารถประยุกต์แนวคิดสากลมาใช้ได้มากขึ้น
 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก
                   1. แนวโน้มเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ ในศตวรรษที่ 21 ระบบเศรษฐกิจโลกโดยภาพรวมจะยังคงเป็นระบบทุนนิยม หรือเสรีนิยมแต่จะมีรูปแบบที่พัฒนาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น การค้าเสรีจะยังคงดำรงอยู่แม้ว่าจะลดความสำคัญลง องค์การการค้าโลกจะมีบทบาทมากขึ้น
                   ประเทศ ที่มีระบบเศรษฐกิจก้าวหน้าที่สุดเคลื่อนตัวไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อผลิตสินค้าที่มีมูลสนเทศมาก ไปให้กับประเทศระดับรองลงไป เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ และไทย โดยจะส่งมอบระบบการสร้างความมั่งคั่งในรูปแบบคลื่นลูกที่สองให้กับประเทศที่ มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจต่ำกว่าตนทำให้ประเทศเหล่านี้พัฒนาเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมเร็วขึ้น ทิ้งห่างประเทศในกลุ่มที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจต่ำออกไป ส่วนประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NICs) ก็จะส่งมอบผลิตแบบคลื่นลูกที่สองพร้อมกับสังคมนิยมคอมมิวนิสต์จะหมดไปเพราะจะมีแต่ประเทศทุนนิยมเท่านั้น การแบ่งกลุ่มประเทศในเชิงเศรษฐกิจในอนาคตจึงเป็นการแบ่งแบบใหม่ คือกลุ่มประเทศที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็วกับกลุ่มประเทศที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างเชื่องช้า
                   ใน ระบบเศรษฐกิจที่กิจกรรมดำเนินไปรวดเร็วและใช้เทคโนโลยีก้าวหน้าจะเร่งการ ผลิตซึ่งอัตราความเร็วดังกล่าวนี้จะวัดกันด้วยความเร็วในการดำเนินธุรกรรมทาง เศรษฐกิจ เวลาที่ต้องใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน ความสำเร็จในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และการนำสินค้าสู่ตลาดอัตราการหมุนเวียนของทุน ประการสำคัญคือความเร็วในการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ และการนำสินค้าสู่ตลาด อัตราการหมุนเวียนของทุน ประการสำคัญคือความเร็วในการสร้างและกระจายข้อมูลสารสนเทศและความรู้ภายใน ระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจที่เร็วจะสร้างความมั่งคั่งได้รวดเร็วกว่าระบบเศรษฐกิจที่ช้า ปัจจัยที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วคือความรู้ ซึ่งความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น บาร์โค้ด คอมพิวเตอร์ และข่ายงานอิเล็กทรอนิกส์ที่แผ่ไปทั่วโลก เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นตัวอย่างของกิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งนอกจากจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็วแล้วยังสามารถ เก็บข้อมูลจากลูกค้าผู้ใช้สินค้าและบริการแล้วป้อนกลับไปยังผู้ผลิตในทันที สามารถทำให้ผู้ผลิตรับรู้และตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของตลาดผู้บริโภคได้ทัน ต่อเหตุการณ์ ความรู้จึงช่วยให้ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจสั้นลง
                   ส่วนในประเทศกำลังพัฒนาอาจใช้ระบบคอมพิวเตอร์และวิทยาการด้านพันธุศาสตร์เข้าช่วยจึงจะทำให้สามารถก้าวหน้ารวดเร็วได้ การเพิ่มผลผลิตทางเกษตรนอกจากการผลิตธัญพืชที่เป็นอาหารแล้วจะต้องเน้นการผลิตพืชที่ให้พลังงานและนำไปสังเคราะห์วัตถุใหม่ๆ ได้ด้วย อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้มีการเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งระบบโทรคมนาคมและข่ายงานทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วย
                   การค้าเสรีจะเป็นประเด็นสำคัญในทางเศรษฐกิจในอนาคต การกีดกันทางการค้าจะค่อยได้รับการแก้ไขแม้ว่าจะมีรูปแบบอื่น ๆ ที่มิใช่มาตรการทางภาษีศุลกากรแต่อาจอยู่ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การช่วยเหลือผู้ผลิตเพื่อการส่งออกให้สามารถสู้กับสินค้าต่างประเทศได้ ซึ่งองค์การการค้าโลกคงจะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
                   2. แนวโน้มเกี่ยวกับการเงินและการค้า
                   ในอนาคตระเบียบการเงิน ระเบียบการค้า และการค้าต่างประเทศจะมีแนวโน้มดังนี้
                                2.1 ระเบียบการ เงิน ในอนาคตอันใกล้เชื่อว่าจะยังไม่มีระบบการเงินระหว่างประเทศที่เป็นมาตรฐาน เดียวกันทั้งนี้เพราะประสบการณ์จากการใช้ระบบมาตรฐานปริวรรตทองคำของกองทุน การเงินระหว่างประเทศและการใช้กลไกอัตราแลกเปลี่ยนของสหภาพยุโรปทำ ให้ไม่มีประเทศมหาอำนาจใดยอมเป็นผู้นำในการดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศ เพราะการทำหน้าที่เป็นผู้คุมกฎจะทำให้ประเทศของตนไม่มีเสรีภาพในการใช้อัตรา แลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ ระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคตจะมีเงินตรา 3 สกุลใหญ่ ๆ คือ ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (US$) เงินยูโร (Euro) ของสหภาพยุโรป และเงินเยน (Yen) ของญี่ปุ่น
US$
YEN
EURO
                                2.2 ระเบียบการค้า ในอนาคตองค์การการค้าโลกจะมีบทบาทสำคัญในการจัดทำข้อตกลงและวางระเบียบกฎเกณฑ์ทางการค้าแทน GATT การค้าต่างประเทศจะเปลี่ยนจากพหุภาคีนิยม (Multilateralism) ไปสู่ระบบทวิภาคีนิยม (Bilateralism) มากขึ้น
                                2.3 การค้าระหว่างประเทศเขตเศรษฐกิจส่วนภูมิภาคจะมีบทบาทมากขึ้น เช่น สหภาพยุโรป เขตการค้าเสรีอเมริกา เขตการค้าเสรีอาเซียน สินค้าในเขตเศรษฐกิจจะขยายตัวในขณะเดียวกันแต่ละเขตเศรษฐกิจก็จะกลายเป็นป้อมปราการในการสกัดสินค้าจากต่างเขต ขณะเดียวกันก็จะมีการกีดกันสินค้าสมัยใหม่ด้วยการสร้างทำนบที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Bariers) ในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้น การค้าระหว่างหน่วยการผลิตภายใต้เจ้าของเดียวกันและการค้าภายใต้อุตสาหกรรมเดียวกันจะมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากความเติบโตของบริษัทระหว่างประเทศด้วยการขยายสาขาและบริษัทในเครือทำให้การค้าขยายกว้างขวางมากขึ้น
                                2.4 การเงินระหว่างประเทศ เนื่องจากมีการขยายเครือข่ายการลงทุนของบริษัทระหว่างประเทศหรือบริษัทข้ามชาติมากขึ้น บรรษัทข้ามชาติขนาดกลางและขนาดเล็กจะมีมากขึ้นและมีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรษัทของประเทศโลกที่สาม บริษัทขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะใหญ่ขึ้นและเชื่อมสัมพันธ์กับตลาดการเงินของประเทศต่าง ๆ มากขึ้น การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศจะเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเอกชนและการระดมเงินด้วยการขายหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ  ในตลาดทางการเงินระหว่างประเทศจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้น เศรษฐกิจฟองสบู่จะเกิดขึ้นและสลายเป็นระยะ ๆ การกู้ยืมเงินระหว่างประเทศและความช่วยเหลือระหว่างประเทศจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น
                   3. แนวโน้มเกี่ยวกับโครงสร้างและภาวะเศรษฐกิจโลก
                                3.1 แนวโน้มเกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจโลก ในอนาคตกระบวนการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งมีมานับร้อยปีนับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรกจะยังคงปรากฎต่อไป เศรษฐกิจโลกจะมีเขตเศรษฐกิจสำคัญ 3 เขต ได้แก่ อเมริกาเหนือนำโดยสหรัฐอเมริกา ยุโรปนำโดยสหภาพยุโรปและเอเชียแปซิฟิกนำโดยญี่ปุ่น เขตเศรษฐกิจแต่ละเขตต่างพยายามปรับตำแหน่งของตนในภาวะเศรษฐกิจโลกด้วยการสร้างสายสัมพันธ์กับภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อขยายฐานเศรษฐกิจ
                   สหรัฐอเมริกาจะมีความสำคัญในโครงสร้างการผลิตของโลกลดลง สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียจะมีความสำคัญมากขึ้น
                                3.2 แนวโน้มเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ภาวะเศรษฐกิจโลกไม่มีความแน่นอนมั่นคงมาโดยตลอด หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำมาก อันเป็นผลกระทบจากภาวะสงครามครั้งใหญ่ ซึ่งมีขอบเขตเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตามเมื่อย่างเข้าสู่ทศวรรษ 1990 เศรษฐกิจโลกได้กระเตื้องขึ้น เกิดองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายองค์การ เช่น สหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เขตการค้าเสรีอาเซียน และเอเปค แต่แล้วก็ต้องซบเซาลงไปอีกจากการเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชีย ซึ่งคงต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะกระเตื้องขึ้น
                                3.3 แนวโน้มเกี่ยวกับการกระจายรายได้ ความยากจน ความอดอยากหิวโหย และภาวะทุพโภชนายังคงมีต่อไป ภาวะทุพภิกขภัยจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แม้ว่าโลกจะมีธัญพืชอย่างพอเพียงสำหรับ การเลี้ยงดูประชากรโลก แอฟริกาเป็นศูนย์กลางแห่งความยากจน ปัญหาความยากจนในเอเชียจะบรรเทาเบาบางลง การกระจายรายได้ระหว่างประเทศจะเลวร้ายลงเพราะประเทศที่มีฐานะปานกลางสามารถตักตวงผลประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ แต่กลุ่มประเทศยากจนไม่อยู่ในฐานะที่จได้รับประโยชน์ดังกล่าว ประเทศยากจนอาจไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเครือข่ายการผลิตและการค้าของเขตเศรษฐกิจต่างๆ  และไม่สามารถแสวงหาเงินทุนได้
                                3.4 แนวโน้มเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรระหว่างประเทศ ในอนาคตสินค้าและบริการสามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ในเขตเศรษฐกิจเดียวกัน แต่การค้าข้ามเขตเศรษฐกิจจะมีการแทรกแซงมากขึ้น การเคลื่อนย้ายทุนเป็นไปโดยเสรีมากขึ้น อัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินจะมีความถี่ในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การขาดแคลนเงินจะกลายเป็นปัญหาระดับโลก การแย่งชิงเงินจะมีมากขึ้น เงินทุนจะถูกดึงดูดไปยังเขตเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง เช่น สหภาพยุโรป
                   ในเรื่องแรงงานนั้น กลไกราคาจะไม่สามารถทำหน้าที่จัดสรรแรงงานระหว่างประเทศได้อย่างเต็มที่ ประเทศต่างๆ มีนโยบายส่งออกแรงงานแต่กีดกันการอพยพเข้าของแรงงาน ยกเว้นแรงงานที่ประเทศนั้นขาดแคลน การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศจะมีมากขึ้น
                                3.5 แนวโน้มเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ วิกฤตเศรษฐกิจเอเชียที่เริ่มต้นในปี ค.. 1997 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ แม้ว่าต่อมาจะเริ่มปรับเข้าสู่เสถียรภาพมากขึ้นในช่วงปลายปี ค.. 1998 อัน เนื่องมาจากการดำเนินมาตรการเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและฟื้นฟู เศรษฐกิจของประเทศที่ประสบปัญหาโดยตรงรวมทั้งการดำเนินมาตรการเพื่อผ่อนคลาย และบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศสำคัญทางอุตสาหกรรม แต่การเคลื่อนย้ายเงินทุนการเงินระหว่างประเทศต้องปรับลดประมาณการทาง เศรษฐกิจลงในปี ค.. 1999 เป็นร้อยละ 2.2 เท่ากับปีก่อนหน้านั้น โดยปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ 4.41 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่จนขยายตัวร้อยละ 0.5 เทียบกับการหดตัวร้อยละ 2.6 ในปีก่อน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาขยายตัวร้อยละ 3.5 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปีก่อน ส่วนกลุ่มประเทศอาเซียนจะหดตัวร้อยละ 1.4 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมสำคัญขยายตัวร้อยละ 1.5 ชะลอตัวลงเมือเทียบกับปีก่อน
                   สำหรับประเทศไทยซึ่งต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรงตั้งแต่ ปี พ.. 2540 ทำให้ต้องมีภาระหนี้สินกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศจำนวนเกือบล้านล้านบาท กล่าวคือ เมื่อถึงสิ้นปีงบประมาณ 2544 ประเทศไทยมีหนี้สินสาธารณะถึง 2,931,700 ล้านบาท มากกว่าหนี้สินปีงบประมาณ 2543 ซึ่งมีเพียง 2,804,300 ล้านบาท ถึงกว่า 127,000 ล้านบาท (Bank of Thailand : 34)
                   4. แนวโน้มเกี่ยวกับความร่วมมือและความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ
                                4.1 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันประเทศต่างๆ  ได้ร่วมมือกันก่อตั้งเขตเศรษฐกิจ ได้แก่ สหภาพยุโรป เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ เขตการค้าเสรีอาเซียน เขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเขตเศรษฐกิจเหล่านี้จะมีการร่วมมือกันต่อไปและจะร่วมมือกันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่มและกีดกันสินค้าจากนอกเขตกลุ่มของตน
                   กลุ่มที่มีการร่วมมืออย่างเข้มแข็งยิ่งคือกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งมีการร่วมมือกันจนสามารถใช้เงินสกุลเดียวกันคือเงินยู (Euro) โดยในชั้นแรกเมื่อถึงวันที่ 1 มกราคม ค.. 1999 อันเป็นวันกำหนดให้มีการใช้เงินยูโรอย่างเป็นทางการ มี 11 ประเทศ ในจำนวน 15 ประเทศจนถึงวันที่ 1 มกราคม ค.. 2002 ประเทศสมาชิกยูโร ประกาศใช้เงินยูโร ร่วมกันทั้งหมดยกเว้น 3 ประเทศที่เหลือ ได้แก่ อังกฤษ เดนมาร์ก และสวีเดน ก็พร้อมที่จะใช้ในโอกาสต่อไปเชื่อว่าสหภาพยุโรปจะร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นแข็งขันต่อไป ส่วนกลุ่มความร่วมมืออื่น ๆ ก็คงจะร่วมมือกันอย่างแข็งขันต่อไปเช่นเดียวกัน
                   4.2 ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ ในอดีตความขัดแย้งกันในรูปของการแข่งขัน และการกีดกันทางการค้า เช่น สหรัฐอเมริกากับสาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น หรือการขัดแย้งกันเกี่ยวกับแหล่งเศรษฐกิจ เช่นการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะ สแปรตลีย์ (Spratlys) ของประเทศต่าง ๆ 6 ประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งหมู่เกาะดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะมีน้ำมันและแหล่งแก๊สธรรมชาติมหาศาล อีกทั้งเป็นจุดผ่านสำคัญของเส้นทางเดินเรือของชาติต่างๆ  ในและนอกเขต เหตุการณ์ที่ทำท่าจะรุนแรงผ่อนคลายลงเมื่ออาเซียนได้ประกาศปฏิญญาอาเซียนเหนือทะเลจีนใต้ (ASEAN Declaration on the South China Sea) ว่า ประเทศที่มีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยและ สิทธิการครอบครองอาณาเขตบนหมู่เกาะดังกล่าวในทะเลจีนใต้ตกลงกันว่าจะแก้ไข ปัญหาโดยสันติวิธี”  ทำให้ปัญหาดังกล่าวผ่อนคลายลงแต่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่จนถึงปัจจุบันและยังเป็นประเด็นขัดแย้งต่อไปในอนาคต
 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของโลก
1. แนวโน้มเกี่ยวกับการจัดระเบียบโลกด้านการเมืองการปกครอง
ตึกเวิล์ดเทรด ที่นิวยอร์กก่อนถูกถล่ม
ถูกถล่ม 11 กันยายน ค.ศ.2001

                   1.1
การปกครองระบอบประชาธิปไตย  ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาการเมืองโลกอยู่ในภาวะไร้ระเบียบและมีความขัดแย้งสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือยุค สงครามเย็นความขัดแย้งสำคัญที่สุด คือ ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยนำ โดยสหรัฐอเมริกาและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ นำโดยสหภาพโซเวียต แต่หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ประชาธิปไตยกลายเป็นอุดมการณ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ปัจจุบันคงมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่ใช้การปกครองรูปแบบอื่น เช่น พม่า อิรัก ใช้รูปแบบเผด็จการอำนาจนิยมซึ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองการปกครอง ซาอุดิอารเบีย บรูไน ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนสาธารณารัฐประชาชนจีน ลาว เวียดนาม คิวบา และเกาหลีเหนือ ปกครองระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ แบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง แต่ก็มีการผ่อนคลาย ความเข้มข้นลงไปกว่าเดิมมาก
                   1.2 การต่อต้านและปราบปรามการก่อการร้าย หลังจากการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.. 2001 สหรัฐอเมริกาได้ประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเปิดเผยและเป็นทางการพร้อมกันนั้นประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช (George W. Bush) ได้เรียกร้องให้ทั่วโลกร่วมมือกันต่อต้านและปราบปรามการก่อการร้าย ซึ่งได้รับการตอบสนองด้วยดีจากประเทศต่าง ๆ ทั้งในพันธมิตรเก่า เช่น อังกฤษ อดีตมหาอำนาจอย่างรัสเซียและจีน รวมทั้งสมาคมอาเซียน จากนั้นจึงส่งกำลังเข้าไล่ล่ากลุ่ม ก่อการร้าย อัลเคด้า หรืออัลกอร์อิดะในอัฟกานิสถาน การปราบปรามการก่อการร้ายจึงเป็นการจัดระเบียบโลกที่เพิ่มขึ้นในสหัสวรรษที่ 3
                   2. แนวโน้มเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองการปกครอง
                   ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาโลกมีความขัดแย้งกันในทางการเมืองโดยตลอด ทั้งที่ขัดแย้งเป็นกรณีพิพาทธรรมดาจนกระทั่งความขัดแย้งรุนแรงจนเป็นสงครามโลกถึง 2 ครั้ง ในอนาคตความขัดแย้งเรื่องดินแดน ศาสนา ชาติพันธุ์และการก่อการร้ายจะยังคงมีอยู่ซึ่งบางกรณีอาจจะมีการคลี่คลายได้ แต่บางกรณีอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นก็ได้
                   2.1 ความขัดแย้งเกี่ยวกับดินแดน  ดินแดนและทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นเหตุของสังคมโลกมาโดยตลอด สำหรับความขัดแย้งที่ยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบันและมีแนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปในอนาคต เช่น ความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับปากีสถานซึ่งเป็นความขัดแย้งในเรื่องศาสนาและกรณีพิพาทเหนือดินแดนจัมมูแคชเมียร์ (Jummu-Kashmir) ซึ่งมีมาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ความขัดแย้งระหว่างอิรักกับอิหร่านเหนือลำน้ำ ชัด ฮัล อาหรับ ก็ยังไม่ได้รบการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ความขัดแย้งระหว่างเปรูและเอควาดอร์เหนือดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ก็ยังคงมีอยู่และที่ยังปรากฎชัดเจนอีกกรณีหนึ่งคือความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับอาหรับเหนือดินแดนปาเลสไตน์ เป็นต้น
                                2.2  ความขัดแย้งเกี่ยวกับลัทธิและอุดมการณ์ เป็นความขัดแย้งที่เคยมีความรุนแรงและขยายเป็นวงกว้างในยุคสงครามเย็น แต่หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย ความขัดแย้งดังกล่าวก็ลดน้อยลงอย่างมาก ความขัดแย้งที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตอย่างน้อยก็ระยะหนึ่ง ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ เพราะเกาหลีเหนือปกครองด้วยลัทธิเผด็จการคอมมิวนิสต์ ในขณะที่เกาหลีใต้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีเชื้อชาติเดียวกันแต่ก็ขัดแย้งกัน อันเนื่องจากชนชั้นนำ มีความเชื่อแตกต่างกันดังกล่าว สองประเทศนี้พยายามที่จะสร้างสัมพันธไมตรีกัน หากผู้นำสามารถปรับตัวกันได้อาจรวมประเทศกันได้ แต่ถ้าผู้นำถือทิฐิแล้วก็ยากที่จะรวมกันและจะต้องเผชิญหน้ากันต่อไป
                                2.3  แนวโน้มกี่ยวกับการก่อการร้าย การก่อการร้ายเป็นรูปแบบหนึ่งของการปฏิบัติการทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยาตลอดจนกำลังทหารโดยไม่มีการเผชิญหน้าคู่ต่อสู้อย่างเปิดเผย การก่อการร้ายในปัจจุบันเป็นปฏิปักษ์ระหว่างตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกากับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง (Islamic Fundamentalism) กลุ่มก่อการร้ายที่สำคัญในปัจจุบันตามที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศมีมากกว่า 30 องค์กร เช่น กลุ่มฮามาสในฉนวนกาซา  กลุ่มอบูนิดาลในอิรัก กลุ่มอาบูเซยาฟในฟิลิปปินส์ กลุ่มโอมชินริเกียวและกองทัพแดงแห่งญี่ปุ่น กลุ่มคนงานชาวเคิร์ดในตุรกี กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลมในศรีลังกา กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติโคลัมเบีย ขบวนการไชนิ่งพาธและทูปักอมารูในเปรู กลุ่มบาสก์ในสเปน รวมทั้งกลุ่มอัลเคด้า หรือ อัลกออิดะห์ และเจไอ หรือเจมาห์ อิสลามิยาห์
ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช USA
อุสมา บินลาดิน
                   3. แนวโน้มเกี่ยวกับการทหารและการพัฒนาอาวุธ
                   แนวโน้มเกี่ยวกับการทหารและการพัฒนาอาวุธในอนาคตจะมีลักษณะดังนี้
                                3.1  การใช้กำลังทหารในการตัดสินปัญหา  เนื่อง จากโลกยังมีปัญหาความขัดแย้งกันอยู่เสมอแม้แต่ในระยะหลังสงครามเย็นซึ่งโดย สภาพทั่วไปน่าจะเป็นช่วงที่ควรจะปลอดจากสงครามจนทำให้ประธานาธิบดี จอร์จ บุซ แห่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศการจัดระเบียบโลกใหม่ แต่แล้วเพียงไม่นานสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรก็ต้องใช้กำลังทหารภายใต้ข้อมติ ของสหประชาชาติที่ 687 ในการตัดสินปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีอิรักบุกคูเวตจนทำให้เกิดสงครามอ่าว (Gulf war) ระหว่างกองกำลังประเทศต่าง ๆ กับประเทศอิรักภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี ซัดดัม ฮุสเซน หลังจากนั้นดูเหมือนโลกจะห่างจากสภาวะสงครามเพื่อหันมาพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคม แต่แล้วเพียงขึ้นต้นทศวรรษแรกแห่งสหัสวรรษใหม่เท่านั้น สงครามก็ได้เกิดขึ้นอีก สงครามครั้งนี้แตกต่างจากสงครามที่แล้วๆ มาเพราะเป็นสงครามไล่ล่าผู้ก่อการร้ายซึ่งเป็นสงครามไร้รูปแบบ สหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรเข้าไปทำสงครามในประเทศอัฟกานิสถานเพื่อกำจัด รัฐบาลภายใต้การนำของกลุ่มตาลีบันและกลุ่มก่อการร้ายภายใต้การนำของบิน ลาดิน หลังจากนั้นหสรัฐอเมริกาได้ประการศจะจัการกับประเทศที่กล่าวอ้างว่าสนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่ผู้ก่อการร้าย และประเทศที่ไม่ยอมปลดอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง เช่น อาวุธนิวเคลียร์และอาวุธเคมีชีวภาพ หรือ นิวเคลียร์คนจนสหรัฐอเมริกายังประกาศว่า ประเทศอิรัก ประเทศอิหร่านและเกาหลีเหนือ เป็นแกนแห่งความชั่วร้าย (Axis of evil) ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2003 สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และพันธมิตรก็ได้ส่งกำลังเข้าปลดอาวุธอิรักจนกลายเป็นสงครามอ่าว ภาค 2 และกำจัด ซัดดัม ฮุสเซน
                                3.2 การพัฒนาอาวุธ  ในยุคสงครามเย็นการแข่งขันด้านอาวุธระหว่างมหาอำนาจมีความเข้มแข็งอย่างมาก แต่เมื่อสงครามเย็นยุติลงการแข่งขันด้านอาวุธก็พลอยผ่อนคลายลงไปด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อเกิดสงครามอ่าวและสงครามปราบปรามการก่อการร้ายใน อัฟกานิสถานแล้ว สหรัฐอเมริกาได้พัฒนาและนำอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ มาใช้ที่สำคัญ ได้แก่ จรวดร่อน เครื่องบินรบและเครื่องบินล่องหน ตลอดจนการนำระเบิดชนิดใหม่ ๆ มาใช้ สำหรับอาวุธทางทหารนั้นอาวุธนิวเคลียร์นับเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงที่ สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน การทดลองระเบิดปรมาณูอันเป็นขั้นตอนแรก ๆ ของนิวเคลียร์ สำเร็จเป็นครั้งแรกโดยสหรัฐอเมริกาเมื่อ วันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) จากนั้นจึงถูกนำมาใช้จริง ๆ โดยสหรัฐอเมริกาในการเผด็จศึกญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวม 2 ลูก ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ณ เมือง ฮิโรชิมา และวันที่ 9 สิงหาคม ณ เมือง นางาซากิ ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องยอมแพ้ในวันรุ่งขึ้นและได้ลงนามในสัญญาสงบศึกที่มีนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งในขณะนั้นมีเพียงสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวที่มีนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง แต่หลังจากนั้นมหาอำนาจโลกในยุคสงครามเย็นต่างเร่งรีบคิดค้นระเบิดนิวเคลียร์เพื่อสร้างดุลแห่งอำนาจและในที่สุดสหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และประเทศกำลังพัฒนาก็สามารถผลิตระเบิดนิวเคลียร์ได้เช่นกัน
                   4. แนวโน้มเกี่ยวกับรัฐและขั้วอำนาจโลก
                   นอกจากแนวโน้มด้านต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีแนวโน้มทางการเมืองที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่
4.1    แนวโน้มเกี่ยวกับรัฐ แนวโน้มของรัฐในอนาคต  มีประเด็นพิจารณาดังนี้
4.1.1  จำนวนรัฐ ในอนาคตจำนวนรัฐมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากประชากรบางส่วนในรัฐปัจจุบันมีเชื้อชาติ ภาษาและศาสนาแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในรัฐนั้นๆ ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ต่างมีความต้องการที่จะปกครองตนเองและดิ้นรนต่อสู้เพื่อเอกราช จนทำให้รัฐใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ จะเห็นได้ว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีรัฐในยุโรปเกิดใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20 รัฐ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีรัฐเพิ่มขึ้น 100 รัฐเมื่อโซเวียตล่มสลายปรากฏว่ามีรัฐเพิ่มขึ้นกว่า 20 รัฐและเป็นที่คาดได้ว่าจำนวนรัฐจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโดยวิถีทางสันติและวิถีการต่อสู้ จอห์น แนสบิตต์ (John Naisbitt) นักวิเคราะห์สังคมชาวอเมริกันคาดหมายว่าก่อนสิ้นปี ค.ศ. 2000 จะมีรัฐทั่วโลกถึง 1800 รัฐ แม้ว่าขณะนี้จะเลยปี ค.ศ. 2000 ไปแล้ว และจำนวนรัฐไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายอย่างที่ แนสบิตต์คาดหมาย แต่แนวโน้มปัจจุบันบ่งชี้ว่าในอนาคตจำนวนรัฐจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
4.1.2           พรมแดน ในอนาคตเขตพรมแดนของรัฐต่างๆ จะคลายความหมายลงและมีความหมายเปลี่ยนไปเพราะการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้พรมแดนไม่สามารถเป็นเครื่องสกัดกั้นความคิดและการติดต่อสื่อสารถึงกันระหว่างชนชาติต่างรัฐได้ ในอดีตประเทศสาธาณรัฐประชาชนจีนได้ชื่อว่าเป็น ประเทศหลังม่านไม่ไผ่ บุคคคลภายนอกไม่มีโอกาสทราบความเป็นไปภายในประเทศนั้นเลย ในขณะเดียวกันชาวรัสเซียก็ไม่มีโอกาสได้ทราบความเคลื่อนไหวของชาวโลก เพราะมีการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารจากภายนอกโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ในอนาคตจะไม่มีประเทศใดสามารถปิดบังข่าวสารจากต่างประเทศได้อีกแล้ว
4.1.3           อำนาจ อธิปไตย ในอนาคตอำนาจอธิปไตยของรัฐจะถูกจำกัดลงด้วยเหตุผลสำคัญคือการหลั่งไหลของ ข้อมูลข่าวสาร นอกจากนั้นความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอาวุธ และการคมนาคมทำให้รัฐเจ้าของดินแดนไม่สามารถจำกัดอำนาจอธิปไตยของตนได้ ดังเช่น กรณีเมื่อเกิดสงครามขึ้น รัฐมหาอำนาจสามารถเคลื่อนย้ายกำลังหรือยิงอาวุธข้ามประเทศต่างๆ ไปทำลายอีกประเทศหนึ่งได้ในระยะไกล ๆ ดังเช่น การที่สหรัฐอเมริกาได้ใช้จรวดและเครื่องบินรบไปทำลายเป้าหมายไปประเทศ อัฟกานิสถานเพื่อกวาดล้างกลุ่มก่อการร้ายจากระยะไกลนับพันกิโลเมตร
4.1.4           รัฐบาล ในอนาคตรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเพราะการจัดระเบียบของสังคมโลกและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน ประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลได้มากขึ้น รัฐบาลในอนาคตจะต้องนำเอาหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีหรือเรียกว่า หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มาใช้ในการบริหารประเทศมากขึ้น อีกทั้งจะต้องมีการคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าร่วมบริหารประเทศมากขึ้นและการฉ้อราษฎร์บังหลวงจะค่อย ๆ ถูกขจัดออกไปจากแวดวงการเมือง
4.2          แนวโน้มเกี่ยวกับขั้วอำนาจโลก ในยุคสงครามเย็นขั้วอำนาจทางการเมืองของโลกมีลักษณะเป็นแบบ 2 ขั้วอำนาจ (Bipolar Systems) โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำฝ่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ แต่หลังจากปี ค.ศ. 1991 อันเป็นปีสิ้นสุดสงครามเย็น เนื่องจากสหาภาพโซเวียตล่มสลาย มหาอำนาจของโลกเหลือเพียงประเทศเดียวคือ สหรัฐอเมริกา ขั้วอำนาจทางการเมืองโลกจึงมีเพียงขั้วอำนาจเดียว (Mono-polar-System) และคาดว่าระบบขั้วอำนาจเดียวจะคงอยู่ไปอีกนานกว่าจะมีประเทศมหาอำนาจอื่น พัฒนาความเข้มแข็งขึ้นมาเคียงคู่กับสหรัฐอเมริกา
บทสรุปบทที่  4

                สังคมโลกในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปและในขณะเดียวกันสังคมโลกก็ยังมีปัญหามากมายทั้งด้านสังคม  เศรษฐกิจ  และการเมืองการปกครอง
            ด้านสังคม  ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ปัญหาสังคมต่างๆ เช่น  ปัญหาการเพิ่มประชากร  การขาดแคลนอาหาร   ปัญหาสารเสพติด  ปัญหาเอดส์  ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน  และปัญหาสิ่งแวดล้อมจะยังคงมีอยู่  แต่เชื่อว่าจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นในอนาคต
            ด้านเศรษฐกิจ  ระบบทุนนิยมเสรีจะยังได้รับความสนใจจากประเทศทั่วโลกและมีการพัฒนาให้ ตอบสนองความต้องการของสังคมมากยิ่งขึ้น  จะมีระเบียบทางการเงินการคลัง และการค้าต่างประเทศที่เหมาะสมยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตามความขัดแย้งทางเศรษฐกิจก็ยังคงมีอยู่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ           
            ด้านการเมืองการปกครอง ความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างสองขั้วสองค่ายต่างอุดมการณ์ดังที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตจะหมดไป  แต่อาจเกิดมีความขัดแย้งที่ไม่รุนแรงมากนักระหว่างชาติใหญ่เช่นสาธารณรัฐประชาชนจีนกับมหาอำนาจโลกอย่างสหรัฐอเมริกา  ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่สำคัญจะเป็นเรื่องของการก่อการร้ายและความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา  ภาษา  และวัฒนธรรม

คำถามท้ายบทที่ 4
1.ในอนาคต สถาบันครอบครัวของประเทศต่างๆ ในโลกจะเป็นลักษณะใด
2.ในอนาคตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะมีลักษณะอย่างไร
3.ในอนาคตสภาวะเศรษฐกิจโลกจะมีลักษณะอย่างไร